Tuesday, September 18, 2012

ร้านขายยา

 


เริ่มจาก ... หาประสบการณ์ของหลายๆท่านใน Web ก่อน

1. สำรวจตัวเองว่ามีใจรักจริงที่จะเปิดร้านขายยา แบ่งเป็น
  • มีใจรักในการบริการ
  • มีความซื่อสัตย์
  • มีจรรยาบรรในการขาย ไม่จ่ายยาโดยไม่จำเป็น (ยัดยานั่นเอง)

2. ต้องเข้าถึงหัวใจของการขายยา
     เราต้องเข้าอบรมหลักสูตร "ผู้ช่วยเภสัช" ณ สถาบันที่เชื่อถือได้ เขาจะสอนให้เรารู้ทุกอย่างทุกอย่างจริงๆ ที่จำเป็นในการขายยา และเปิดร้านขายยา ณ ที่นี้ขอแนะนำ B-TO Training Ceter ตรงข้ามโรงพยาบาลพระราม 9 เจ้าของสถาบันเป็นอาจารย์ที่เก่งมาก


3. หลังจากอบรม และฝึกงานเสร็จแล้ว ก็ออกมาหางานทำเป็น ผู้ช่วยเภสัช สักประมาณ 6 เดือน
     วัตถุประสงค์ที่ต้องฝึกการทำงาน เราต้องได้ความชำนาญในเรื่องต่างๆ ดังนี้
  • ฝึกความชำนาญในการจ่ายยา
  • ฝึกประสบการณ์ในการจ่ายยา
  • ฝึกการบริการผู้ป่วย
  • ฝึกบุคลิกภาพของเราในการพบกับผู้ป่วย
  • เรียนรู้ระบบงานบริหารของร้าน
  • เรีนนรู้เรื่องการปฏิบัติตัวระหว่างนายจ้างกับผู้ช่วยเภสัช เราจะได้นำแนวคิดไปประยุคใช้กับพนักงานของเรา
  • เรียนรู้เรื่องการสั่งซื้อสินค้าระหว่างร้านกับผู้แทนขายยา
  • เรียนรู้เรื่องการบริหารเงิน อาทิ รายรับ ค่าใช้จ่าย วิเคราะห์ยอดขายต่อวัน ต่อเดือน จุดคุ้มทุน
  • เราต้องทำงานในร้านที่เราฝึกงานให้ดีที่สุด เปรียบเสมือนเป็นร้านเราเอง เพราะถ้าเราทำจริง ยอดขายออกมาดีจริง เมื่อเรามีร้านเองในอนาคตมันก็จะออกมาดีอย่างที่เราทำไว้
        ร้านที่ไปฝึกงานนั้นควรเป็นร้านที่มีพนักงาน 1-2 คน เพราะเราจะได้ความรู้มากกว่า ยิ่งเราอยู่ร้านคนเดียวยิ่งดี  ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์มาก ที่เราต้องรู้ล่วงหน้าให้ได้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารร้านของเราเอง ถ้าหากว่าหาร้านฝึกงานที่ได้ความรู้อย่างที่กล่าวข้างต้นไม่ได้ ก็ติดต่อมาขอฝึกที่ร้านก็ได้ค่ะ จะแนะนำให้หมดเลย

 

4. ทำเลที่ตั้ง พอเรามั่นใจในข้อมูลที่ได้ว่าเพียงพอ เราก็มาเริ่มต้นมองหาทำเลในการเปิดร้าน ขอย้ำว่าทำเลดีนั้น หายากมากๆ ควรมองหาตั้งแต่ เราเริ่ม ข้อที่ 1. แล้วนะค๊ะ
 
5. การวิเคราะห์ต้นทุนในการเปิดร้าน (ทั้งหมดนี้เป็นการแนะนำสำหรับคนที่มีงบอย่างจำกัด และต้องการใช้ทุกบาททุกสตางค์ให้เป็นประโยชน์ที่สุด) ค่าใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 3 ชนิด
5.1  ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
     - ค่ามัดจำร้านล่วงหน้า 3 เดือน     12,000 X 3 = 36,000
     - ค่าเช่าร้าน 1 เดือน                      12,000 X 1 = 12,000
     - ค่าประตูกระจก                            14,000 X 1 = 14,000
     - ค่าตู้ 4 ใบ (ดิฉันใช้ของดีค่ะ ถึงจะราคาแพงแต่ร้านต้องมองดูดีค่ะ)       15,000 X 4 = 60,000
     - คอมพิวเตอร์ + Printer + UPS (ใช้แบบถูกได้ค่ะแต่ต้องจอแบนนะ เน้นดูดีไว้ก่อน)       17,500 X 1 = 17,500
     - ลิ้นชัก + Barecode Scaner        9,000 X 1 =   9,000
     - เครื่องตีป้ายราคา + กระดาษ             750 X 1 =      750   
     - โต๊ะปรุงยา                                      1,200 X 1 =  1,200
     - เก้าอี้                                                  300 X 2 =      300
     - เก้าอี้สูง                                              500 X 1 =      500
     - ถาดนับยา                                          190 X 2 =     380
     - โปรแกรมร้านขายยา                       2,000 X 1 =  2,000
     - ป้ายชื่อร้าน...                                  5,000 X 1 =  5,000
     - ป้ายสถานที่ขายยา...                                                350
     - ป้ายเภสัช...                                                              350
     - ค่าขึ้นทะเบียน อ.ย.                                               2,000
     - ยา Lot แรก (อาจปรับเป็น 100,000 ก็ได้)       150,000      
     - เงินสำรองซื้อยา                                                  50,000
     - เบ็ดเตล็ดอื่นๆ                                                         5,000
                                       รวมเป็นเงิน ..........(รวมเองแล้วกันค่ะ)
5.2  เงินทุนสำรองจ่าย 2 เดือน
     - ค่าเช่าร้าน 2 เดือน                      12,000 X 2 = 24,000
     - ค่าน้ำ + ค่าไฟ                               2,500 X 2 =   5,000
     - ค่าพนักงานที่ 1                            8,500 X 2 = 17,000
     - ค่าพนักงานที่ 2                            7,500 X 2 = 15,000
     - ค่าเภสัช                                         4,000 X 2 =    8,000
                                     รวมเป็นเงิน ..........(รวมเองแล้วกันค่ะ)
5.3 ค่าใช้จ่าย Fix Cost ต่อเดือน = ข้อ 5.2 หาร 2 (34,500)
      ทั้งหมดคือ เงินก้อนที่เราต้องมีอยู่ในกระเป๋าก่อนที่เริ่มคิดถึงข้อที่ 1 ด้วยนะค๊ะ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ร้านแรกดิฉันเปิดด้วยงบเพียง 150,000 บาท ยา Lot แรกลง 30,000 เหนื่อยมากค่ะ ต้องสั่งยาทุกวันชักหน้าไม่ถึงหลัง เงินทุนไม่พอ ต้องชักเนื้อมาจ่ายทุกสิ้นเดือน แต่ก็ถือว่าดีสำหรับเปิดร้านครั้งแรกค่ะ ได้ประสบการณ์ดี เปิดหุ้นกับคนรู้จักน่ะค่ะ เค้าทุนน้อยลงมากไม่ใหว ณ วันนี้ดิฉันก็เลยยกร้านให้เค้าไปบริหารเองค่ะ (ให้เค้าไปดิ้นเอาเอง) ร้านที่ 2 เป็นร้านของตัวเอง ค่อยยังชั่วหน่อยค่ะ ใช้งบข้อ 5.1 และ 5.2 รวม 400,000 บาท ลงยา Lot แรก 150,000 บาท ก็ค่อยยังชั่ว ดิฉันไม่เน้นลงยาครบทุกชนิด แต่ยาทุกตัวที่ลงต้องขายได้ไม่มีค้าง
 
6. การวิเคราะห์การขาย
     จากประสบการณ์ที่ผ่านมา กำไรจากการขายยาจะอยู่ที่ 35 % (ร้านของดิฉันต้องขายยาแผง ยา Original ยาตัก ยา Copy ขายไม่ได้เลย คือเป็นลูกค้าระดับสูงค่ะ) เราต้องตั้งธงเอาไว้ว่า จากข้อ 5.3 ถ้าเราต้องการอยู่รอด
     - เราต้องขายให้ได้ เดือนละ 98,572 เป็นทุน 64,072 กำไร 34,500
     - ถ้าใน 1 เดือน เราขาย จันทร์-เสาร์ เราจะมีเวลาขายของเดือนละประมาณ 26 วัน เพราะฉนันเราต้องขายเฉลี่ย 3,792 บาท/วัน และระหว่างที่เราได้เงินจากการแล้ว ห้ามเอาไปใช้ทำอย่างอื่นนะ เพราะเราลงทุนยา Lot แรกน้อยจึงต้องสั่งซื้อยาเพิ่ม สัปดาห์ละ 15,000 บาท
 
7. Schedule of work ในการเปิดร้านและการขออนุญาติ สมมติเริ่มวันแรกเป็นวันที่ 1 นะค๊ะ
     - เตรียมเงิน + เปิดบัญชี (ถ่ายสำเนา 1 ชุด) วันที่ 1
     - เช่าร้าน (เตรียมสัญญาเช่า + หนังสือยินยอม ถ่ายสำเนา 1 ชุด) วันที่ 1
     - สั่งซื้อตู้ วันที่ 1-7
     - เตรียมรายการยา lot แรก วันที่ 1-8
     - สั่งป้ายต่างๆ วันที่ 1-7
     - สั่งโต๊ะปรุงยา + เก้าอี้ วันที่ 1-7
     - ซื้อถาดนับยา วันที่ 1-7
     - ติดต่อเภสัช วันที่ 1-7
     - ตู้เข้าร้าน วันที่ 8
     - ป้ายเข้าร้าน วันที่ 8
     - โต๊ะปรุงยา + เก้าอี้ เข้าร้าน วันที่ 8
     - ถาดนับยาเข้าร้าน วันที่ 8
     - ถ่ายรูปร้านตามแบบที่กำหนด วันที่ 8
     - อัดรูป + จัดเตรียมเอกสาร วันที่ 8
     - จูงมือเภสัชไป อ.ย. ครั้งที่ 1 พร้อมเอกสาร วันที่ 9
      - หลังจากออกจาก อ.ย. วันที่ 9 ให้โทรนัดคุณผู้ตรวจร้านเลย
      - สั่งยา วันที่ 10
      - ตรวจร้าน จูงมือเภสัชมาด้วย ครั้งที่ 2  วันที่ 12
      - ถ้าเป็นไปได้ ลงยา จัดร้าน ลงอุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมด วันที่ 12 หลังจากตรวจร้านเสร็จ (ต้องมี 2 ทีม)
     - วันที่ 13 รอรับใบอนุญาติ ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือแล้วแต่เจ้าของร้านจ๊ะ
     อันนี้เป็นสถิติที่ดิฉันทำได้ในการเปิดร้านครั้งที่ 2 ค่ะ ครั้งแรกปาไปตั้ง 25 วันแน่ะกว่าจะได้ขาย
 
8. เทคนิคในการเลือกยา(จากประสบการณ์ของดิฉันเอง)
     - ใช้ความรู้ที่ได้จาก ข้อ 3. และจากประสบการณ์ที่ได้มา คัดออกมา ประมาณ 300 รายการ และเลือกปริมาณสำหรับขายได้ 3 เดือน
     - ผู้ป่วยในแต่ละทำเลจะมีความต้องการใช้ยาไม่เหมือนกัน เงินสำรองซื้อยาในข้อ 5 เอาไว้ใช้ในการนี้ค่ะ ใน 300 รายการที่เราเลือกมา ถ้าผู้ป่วยต้องการยานอกเหนือไปจากนี้ เราต้องบอกว่า "ขอโทษครับยาตัวนี้เข้าวันจันทร์ พอดีเพิ่งเปิดยายังมาไม่ครบครับ" แล้วเราก็จด ในทุกๆความต้องการ แล้วเราก็สั่งซื้อเข้ามา และวันหนึ่งเราจะมีของครบตาม
     - ถ้าเรากลัวว่าเรามียาไม่ครบอาจทำให้เสียลูกค้าได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ถ้าเราเข้าถึงหัวใจของ ข้อ 1. แล้ว ลูกค้าจะมีความเมตตาเราตอบกลับมา และสามารถเฝ้ารอเราได้เช่นกัน
     - ลูกค้าประจำ ถ้าเราเข้าถึงหัวใจของ ข้อ 1. ยาหลายชนิดที่ลูกค้าต้องใช้ประจำ ทุกเดือน หรือเมื่อยาหมด จะทำให้เราสามารถประมาณการณ์ในการสั่งสินค้า และประมาณการณ์ยอดขายของเราในอนาคตใด


Blogger :
     ปัจจุบันร้านขายยาปลีกทั่วไป ไม่น่าจะได้กำไรเท่าสมัยก่อน (1-5 เท่า) ปัจจุบันน่าจะอยู่ 10 - 15% ถ้าไม่นับยาเม็ดแบบใส่ซอง ร้านขายยาจึงควรจะมีรายการส่งเสริมการขาย เช่น วิตามิน , อาหารเสริม , กาแฟ , ...
 
Credit : ที่มา
Thanks to : ท่านที่เขียนต้นฉบับ







No comments:

Post a Comment