Sunday, September 23, 2012

ธุรกิจร้านกาแฟ ... การลงทุน


      

ธุรกิจร้านกาแฟมีลักษณะการลงทุนใน 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

1.  ร้าน (Stand - Alone) เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ... ขึ้นไป ร้าน Stand - Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ๆ
2.  คอร์เนอร์ (Corner/Kiosk) ร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ...ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุมกาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่งจำนวนเล็กน้อย
3.  รถเข็น (Cart) ร้านกาแฟขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ... สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำเลที่ตั้งได้ง่าย ทำให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ


โครงสร้างการลงทุน

รูปแบบร้าน (Stand - Alone )
      ร้านกาแฟในรูปแบบ Stand Alone จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 800,000 ถึง 1,500,000 บาท ซึ่งโครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน คือ

1. ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่

- ค่าก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่งสถานที่

- ค่าวางระบบต่าง ๆ (ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ ระบบเก็บเงิน)

- ค่าอุปกรณ์

2. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ประมาณ 10 % ได้แก่

- ค่าวัตถุดิบสินค้า

- ค่าบรรจุภัณฑ์

- ค่าจ้างพนักงาน

- ค่าเช่าพื้นที่

- ค่าน้ำ ค่าไฟ

- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร

การลงทุนดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่าง ให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้เห็นรูปแบบการลงทุนของร้านกาแฟแบบ Stand Alone คร่าว ๆ หากผู้ประกอบการบางรายมีความพร้อมด้านสินทรัพย์ถาวรบางรายการ หรือคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เข้ามาได้ทันกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถปรับลดสัดส่วนของสินทรัพย์ถาวรหรือเงินทุนหมุนเวียนที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นลงได้ ฉะนั้น สัดส่วนโครงสร้างการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในธุรกิจของผู้ประกอบการเองด้วย


วิธีการคำนวณรูปแบบการลงทุนร้านกาแฟ Stand Alone

กรณีร้านกาแฟในห้างสรรพสินค้า ใช้ขนาดพื้นที่ประมาณ 60 ตารางเมตร สัญญาเช่า 10 ปี ผู้ประกอบการใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 1.42 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 1.27 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อค่าใช้จ่ายเริ่มต้น ประมาณ 1.48 แสนบาทต่อเดือน และหากผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายกาแฟได้ประมาณ 150 แก้วต่อวัน ในราคาเฉลี่ย 55 บาท โดยมีรายละเอียดที่จะต้องกำหนดขึ้น เพื่อการคำนวณดังนี้

งบประมาณ การลงทุน

รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
ค่าก่อสร้าง ออกแบบและตกแต่งสถานที่
ค่าระบบไฟฟ้า
ค่าระบบประปา
ค่าระบบโทรศัพท์
ค่าระบบเก็บเงิน
800,000
50,000
15,000
5,000
50,000

รวมเงินลงทุน

920,000

อุปกรณ์

รายการ
จำนวนเงิน (บาท)
เครื่องชงกาแฟ
เครื่องบดกาแฟ
เครื่องปั่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ
อุปกรณ์เครื่องเสียง
เครื่องเก็บเงิน
รวมค่าอุปกรณ์
200,000
30,000
40,000
20,000
20,000
20,000
20,000
350,000

รวมเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

1,270,000
เงินทุนหมุนเวียน
147,500

รวมเงินลงทุนทั้งสิ้น

1,417,500


ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือน

Ø ต้นทุนสินค้า (บาท/เดือน) 81,000

รวมค่าวัตถุดิบ (กาแฟ น้ำแข็ง นม ฯลฯ)
รวมค่าบรรจุภัณฑ์ (แก้ว ฝา ไม้คน หลอด ฯลฯ )
รวมต้นทุนกาแฟต่อหน่วย
15
3.0
18.00
รวมต้นทุนสินค้าต่อเดือน (150 x 18 x 30) = 81,000 บาท/เดือน

 
Ø ค่าจ้างพนักงาน (บาท/เดือน) 24,500

หัวหน้าร้าน 1 คน
พนักงานร้าน 1 คน
พนักงานดูแลความสะอาด 1 คน
12,000
7,000
5,500

รวมค่าจ้างพนักงาน

24,500

Ø ค่าเช่าพื้นที่ (บาท/เดือน) 30,000

Ø ค่าน้ำ ค่าไฟ (บาท/เดือน) 7,000

Ø ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (ค่าขนส่ง ค่าการตลาด ค่าส่งเสริมการขาย) 5,000 รวมประมาณการค่าใช้จ่ายต่อเดือน (บาท) 147,500
 
 
การกำหนดราคาขาย

   ราคาขายของกาแฟแต่ละถ้วย จะถูกกำหนดขึ้นจากต้นทุนบวกด้วยกำไรที่ผู้ประกอบการต้องการ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว การตั้งราคาของผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงราคาขายของผู้ประกอบการรายอื่นๆ ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกันที่มีในตลาดด้วย เช่น กรณีของร้านกาแฟตัวอย่างที่กำหนดไว้นี้ จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบน ซึ่งราคาจำหน่ายกาแฟในตลาดระดับนี้ อยู่ที่ ประมาณ 45-65 บาท คิดเป็นราคาขายแก้วละ 55.00 บาท


รายได้

รายได้ของธุรกิจเกิดจาก (ยอดขาย x ราคาสินค้า)
150x30 x 55
247,500 บาท
กำไรเดือนละ
247,500 – 147,500
100,000 บาทต่อเดือน

( *โครงสร้างการลงทุนข้างต้น ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 4 ราย ช่วงเดือนกรกฎาคม 2545 )


รูปแบบคอร์เนอร์และรถเข็น

   ร้านกาแฟในรูปแบบ Corner จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 250,000 ถึง 800,000 บาท ส่วนรูปแบบ Cart ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 80,000 ถึง 600,000 บาท การลงทุนในรูปแบบคอร์เนอร์และรถเข็น ใช้วิธีการคำนวณเช่นเดียวกับรูปแบบของร้าน เพียงแต่โครงสร้างเงินลงทุนของคอร์เนอร์และรถเข็นจะมีสัดส่วนที่แตกต่างไปจากร้าน Stand Alone ดังนี้



ตัวอย่างเงินลงทุนร้านกาแฟในรูปแบบคอนเนอร์และรถเข็น

รายการ
คอร์เนอร์
รถเข็น
ค่าออกแบบตกแต่ง
ค่าระบบไฟฟ้า
ค่าระบบโทรศัพท์
เครื่องชงกาแฟ
เครื่องบดเมล็ดกาแฟ
เครื่องปั่น
เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
อุปกรณ์เครื่องครัวต่างๆ
เครื่องเก็บเงิน
250,000
30,000
5,000
200,000
30,000
40,000
10,000
10,000
30,000
70,000
-
-
50,000
-
-
-
10,000
-

   ต้นทุนวัตถุดิบทั้งแบบคอร์เนอร์และรถเข็น อาจใช้อัตราเดียวกับการลงทุนแบบร้าน ส่วนต้นทุนการดำเนินงาน และต้นทุนการขายและบริหาร จะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ผู้ประกอบการต้องประมาณการ ต้นทุนค่าใช้จ่าย และยอดขายที่ต้องการขึ้น แล้วนำมาคำนวณโดยวิธีการดังตัวอย่างข้างต้น


เงื่อนไขและข้อจำกัดที่สำคัญ

- การหาทำเลที่ตั้งจะค่อนข้างยาก เพราะทำเลที่ดีมักถูกผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าจับจองแล้ว

- ผู้ประกอบการรายใหญ่เริ่มหันมาจับกลุ่มลูกค้ารายย่อย ทำให้การแข่งขันสูง นักลงทุนรายย่อยที่จะเข้ามาในตลาดจึงค่อนข้างมีความเสี่ยง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่มีเงินลงทุนสูงและมีความรู้ในด้านเทคโนโลยีที่ดีกว่า

อ้างอิง : ธุรกิจร้านกาแฟ

 

No comments:

Post a Comment